ความสำคัญและเทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษ

คุณคิดว่าทักษะการสื่อสารอะไรที่สำคัญในอนาคต?

ใช่…ถูกแล้วค่ะ “การเขียน” แต่เราไม่ได้พูดถึงการฝึกเขียนคัดลายมือ หรือการเขียนเรียงความเพื่อส่งอาจารย์ อันที่จริงการเขียนเป็นทักษะการสื่อสารทางหนึ่งที่แสดงการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การช่วยปรับปรุงการความสามารถในการวิเคราะห์ การรู้หนังสือ และความสามรถในการดึงศักยภาพความเข้าใจในตัวเราที่ต้องการสื่อสารออกมา
และเมื่อมีทักษะการเขียนที่ดี ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการเรียนและการสอบมากยิ่งขึ้น อาทิ การเขียนบทความ การเขียนรายงาน เป็นต้น

วันนี้อิงลิช แก็ง เลยไม่พลาดที่จะพาทุกๆคน มาเรียนรู้วิธีเร่งสปีดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่จะช่วยพัฒนาความสามารถ ผ่านการพัฒนาทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันได้เลยค่ะ

 

ความสำคัญและเทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษ

โครงสร้างของบทความ (Essay) โดยทั่วไปประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

1. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแรกของบทความ ที่จะบอกว่าบทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยยังไม่ใส่รายละเอียดมากนัก บทนำต้องดึงดูดใจผู้อ่าน นำเข้าสู่หัวข้อเรื่อง และนำเสนอใจความหลัก องค์ประกอบหลัก ๆที่ต้องมีคือ ทิศทางเข้าสู่หัวข้อเรื่อง, Thesis statement หรือ การพูดถึงใจความหลักของบทความและมีการสรุปย่อหัวข้อหลัก ข้อคิดเห็น และประเด็นที่เขียนในบทความด้วย

2. เนื้อความ (Body) เป็นส่วนรวมเนื้อหาใจความสำคัญของเรียงความ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ยาวที่สุด มีได้หลายย่อหน้าเนื้อความมีหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้อ่าน ลักษณะเด่นๆของเนื้อความ คือ
-เนื้อความ จะมี 2 ส่วน คือ Topic Sentence อยู่ส่วนแรกของแต่ละเนื้อความซึ่งเป็นตัวบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าเนื้อความย่อหน้านี้พูดถึงเรื่องอะไร และ Supporting details ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic Sentence รวมถึงยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
– ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการ ยกตัวอย่าง, เปรียบเทียบ, ให้คำนิยาม อธิบายความหมาย และมีการจำแนกประเภท
– เนื้อหาต้องเกี่ยวข้องกับใจความหลัก
– ต้องนำเสนอความเป็นจริงและรายละเอียดที่ทำให้ใจความหลักมีความสมเหตุสมผล
– ต้องนำเสนอรายละเอียดที่สนับสนุนหรืออธิบายความคิดในใจความหลักของเรา
– นำเสนอเนื้อหาที่โน้มน้าวใจผู้อ่านจากข้อเท็จจริงที่สมเหตุสมผล

3. Conclusion คือ ย่อหน้าสุดท้ายของ Essay เป็นส่วนที่สรุปย้ำใจความสำคัญเนื้อหาอีกครั้ง มักมี 1 ย่อหน้า

หลักการเขียนบทความ

1. เลือกหัวข้อ เราอาจได้เขียนตามหัวข้อที่กำหนด หรือได้เลือกเขียนหัวข้อตามอิสระก็ได้ ถ้าได้เขียนตามหัวข้อที่กำหนด ควรมองภาพรวมของเนื้อหาหรือการวิเคราะห์แบบเฉพาะเจาะจง จำกัดโฟกัสของเราให้แคบลง แต่ถ้าได้เลือกเขียนหัวข้อตามอิสระ อันดับแรกกำหนดวัตถุประสงค์ของบทความ ว่าจะเป็นแนะนำหรือโน้มน้าวใจ เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วหาหัวข้อที่เราสนใจและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา สุดท้ายประเมินตัวเลือกของเรา ถ้าเป้าหมายคือการศึกษา ก็เลือกเนื้อหาที่เราได้เรียนไปแล้ว หรือถ้าเป้าหมายคือการโน้มน้าวใจ ก็เลือกเนื้อหาที่เราสนใจ

2. วางแผน เพราะการวางแผนรวบรวมความคิดจะช่วยให้เราหา Supporting idea หรือเหตุผลที่ดีที่สุดเพื่อสนับสนุน Topic sentence ได้มากกว่าความคิดแรก และวางตำแหน่งในบทความ ได้ตามลำดับ Supporting idea ที่ดีที่สุด คือ ความคิดที่ชัดเจนที่สุดประกอบกับความรู้ที่เรามี

3. ใช้คำวลีและประโยคอย่างหลากหลาย ความหลากหลายของประโยคและคำศัพท์เป็นหนึ่งในจุดเด่นของการเขียนที่มีประสิทธิภาพ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำและวลีซ้ำ ๆ ในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงการเริ่มต้นประโยคน่าเบื่อ ๆ ในรูปแบบ subject + verb + direct object (ประธาน +กริยา + กรรมตรง)

4. ตรวจเช็กความเรียบร้อย หลังจากเขียนเสร็จเรียบร้อย อ่านทบทวนตรวจสอบคำถูกผิด ไวยากรณ์ ลำดับของย่อหน้า ถ้าเป็นเรียงความอธิบายขั้นตอนการทำบางสิ่งบางอย่าง ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเขียนตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่

5. ฝึกเขียนบ่อยๆ การเขียนที่ดีไม่ใช่อยู่ดี ๆ จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นต้องฝึกเขียนบ่อยๆแม้ว่างานเขียนชิ้นแรกจะไม่ได้ออกมาระดับดีมากก็ตาม แต่การฝึกเขียนบ่อย ๆ จะทำให้งานเขียนเราดีขึ้นเรื่อย ๆ และพัฒนาความแม่นยำของโครงสร้างประโยคพื้นฐาน รวมถึงได้มีโอกาสนำคำศัพท์ที่ได้เรียนรู้ใหม่ ๆ มาใช้ได้ด้วย

เป็นอย่างไรบ้างคะกับเทคนิคที่ทางเราแบ่งปัน หากได้ลองทำตามเทคนิคง่ายๆแล้วอิงลิช แก๊งเชื่อแน่ว่าทุกคนจะพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้นและได้ผลอย่างแน่นอน และเราพร้อมจะสนับสนุนผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ทุกคนๆค่ะ สุดท้ายนี้ทางเราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และเป็นแรงบัลดาลใจให้กับใครหลายๆคนที่กำลังฝึกการเขียนภาษาอังกฤษอยู่นะคะ