การสื่อสารกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วดังจะเห็นได้จากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าถึงผู้ใช้ทุกระดับ และเป็นตัวสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนอย่างเห็นได้ชัด ดังจะเห็นได้ชัดดังจะเห็นได้ว่าเกือบทุกบ้านต้องมีโทรทัศน์ คนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่ในสังคมมีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านนี้ได้อย่างง่ายดาย นักศึกษาในมหาลัยเป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเทคโนโลยีด้านนี้ในมหาวิทยาลัยมีความทันสมัยและรองรับการใช้งานที่รวดเร็ว ดังจะเห็นได้ว่านักศึกษาทุกคนรับทราบข่าวสารข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลายวิธีและรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ความพร้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขยายวงกว้างมากขึ้น จากเดิมที่มีเฉพาะในสถานศึกษาและหน่วยงานบางหน่วยงานของรัฐ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นความจำเป็นพื้นฐานของหน่วยงานที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านนี้ ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การรับรู้ข่าวสารอย่างทันท่วงทีเป็นพื้นฐานที่แสดงถึงศักยภาพเบื้องต้นของบุคคลในอนาคตอันใกล้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือ lifelong learning นั้นมีความหมายกว้างๆว่าคือ “ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดศและชีวิต ที่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้คว่มสามารถ ทักษะ และศักยภาพของบุคคลหรือสังคม ” ซึ่งหมายรวมถึงการเรียนรู้ในรูปแบบที่เป็นทางการเช่น การศึกษาในระบบโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือการฝึกอบรม ซึ่งการศึกษาในระบบมักจะมีการทดสอบความรู้ความสามารถหลังการเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการเช่น การดูโทรทัศน์ การอ่านข่าวทางสื่อต่างๆ การรับข้อมูลข่าวสารในทุกรูปแบบหรือการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการเหล่านี้ไม่มีการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ ความก้าวของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นกล่าวได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างแท้จริง เนื่องจากเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถทำให้ผู้คนเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาจริงๆ โดยไม่ขึ้นกับข้อจำกัดของสถานที่ เวลาและสถานะทางสังคมของบุคคล แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็ยังมีข้อจำกัดน้อยลง ในอนาคต การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning,LLL) จะขยายความครอบคลุมถึงแนวคิดของ การเรียนรู้แบบทั่วถึง (Ubiquitous Learning,U-Learning) นั้นหมายความว่าไม่ว่าคนจะอยู่ที่ไหน เวลาใด หรือทำกิจกรรมอะไรอยู่ ก็สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่ตนเองต้องการได้อย่างรวดเร็วสำหรับการเรียนรู้ที่เป็นแบบแผนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นที่ยอมรับกันคือ e-Learning ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนันสนุนกระบวนการเรียนรู้ (Learning Processes) ซึ่งปัจจุบันหลายๆหน่วยงานได้พัฒนาระบบ e-Learning ของหน่วยงานเพื่อรองรับการเรียนรู้ของผู้ของผู้เกี่ยวข้องของหน่วยงาน โดยเริ่มต้นที่สถาบันการศึกษาก่อน จนได้ขยายไปสู่ทั้งภาครัฐ และเอกชนอื่นๆ แล้ว โดยได้นำระบบ e-Learning มาใช้ในหลายรูปแบบ เช่น การฝึกอบรมภายในองค์กร การอบรมทั่วไปที่มีการให้ประกาศนียบัตร หรือการธุรกิจให้บริการระบบ e-Leaning เป็นต้น มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดย สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในการให้บริการระบบ e-Learning เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นระบบสำคัญในการสนันสนุน การเรียนรู้และเป็นคลังสมองสำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษา อย่างไรก็ตาม e-learning เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอื่นเช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ iPod คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา จะเป็นเครื่องมือสำคัญในอนาคต โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายกลางในการเข้าถึงข้อมูล

ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตได้นำไปสู่บริการข้อมูลข่าวสารในหลายรูปแบบ เช่น การให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการเวปไซต์ การให้บริการการสนทนาระหว่างคนต่อคน หรือ หลายคน การให้บริการข้อความสั้น (SMS) ทำให้ข้อมูลต่างๆ เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น และตรงความต้องการมากขึ้น การพัฒนาในอนาคตของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตจะเป็นรูปแบบที่มีการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เป็นการเฉพาะรายมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี  ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นด้วย การพัฒนาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลายหลายรูปแบบ โดยเนื้อหาเหล่านั้นจะมีทั้งข้อมูลด้านดีและไม่ดี ต้องได้รับการกรองและวิจารณญาณในการเรียนรู้มากขึ้นตามไปด้วย แหล่งข้อมูลความรู้ที่เป็นที่รู้จักและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันคือสารานุกรมเสรี  สำหรับภาษาอังกฤษหรือ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก และจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของโลกที่ทันสมัยมากๆ

การรับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยของคนยุคใหม่สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ โดยทุกรูปแบบมีความรวดเร็วขึ้นและตรงความต้องการมากขึ้นและตรงความต้องการมากขึ้น ได้มีการพัฒนา Web service ที่มีการเชื่อมโยงจากแหล่งต่างๆเข้าด้วยกันและส่งผ่านไปยังผู้ใช้ข้อมูลตามร้องขอได้อย่างรวดเร็ว RRS feed เป็นตัวอย่างสำคัญของเทคโนโลยี web service

ความสามารถในการเรียนรู้ของเยาวชนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ มีทักษะ ที่แสดงศักยภาพของการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ นักศึกษาจำเป็นต้องมีศักยภาพขั้นพื้นฐานได้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ ได้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นลักษณะของบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของประเทศ นักศึกษาจำเป็นต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่หาในสิ่งที่เป้นความรู้สำหรับตนเองทั้งเพื่อประกอบอาชีพและดำรงชีวิต สามารถรู้รู้การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างชาญฉลาด