วัยใดเหมาะสำหรับการเริ่มเรียนภาษาต่างประเทศมากที่สุด Ep.2

วัยใดเหมาะสำหรับการเริ่มเรียนภาษาต่างประเทศมากที่สุด

เรียนรู้ได้ง่ายดาย

โดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนต่างเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ภาษา ยกตัวอย่างเช่น ในวัยทารกเราสามารถได้ยินเสียงพยัญชนะทั้ง 600 เสียง และเสียงสระ 200 เสียงของภาษาต่าง ๆ ในโลก แม้แต่เด็กแรกเกิดยังร้องไห้โดยเน้นเสียงตามสำเนียงภาษาแม่ที่พวกเขาได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
ในช่วง 1 ปีแรก สมองของเราจะเริ่มมีความเจาะจงขึ้น และจะให้ความสนใจกับเสียงที่เราได้ยินบ่อยที่สุด
เด็กในวัยหัดเดินจะเริ่มพูดอ้อแอ้ในภาษาแม่ของพวกเขา แม้แต่เด็กแรกเกิดยังร้องไห้โดยเน้นเสียงตามสำเนียงภาษาแม่ที่พวกเขาได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
ความเจาะจงดังกล่าว ยังหมายถึงการละทิ้งทักษะที่เราไม่จำเป็นต้องมี เช่น ทารกญี่ปุ่นสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียง L กับเสียง R ในภาษาอังกฤษได้โดยง่าย แต่นี่กลับเป็นเรื่องยากกว่าสำหรับผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ โซเลซ กล่าวว่า ช่วงขวบปีแรก ๆ มีความสำคัญในการเรียนรู้ภาษาแม่
งานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาเด็กที่ถูกทอดทิ้ง หรือถูกปล่อยทิ้งไว้ตามลำพัง พบหลักฐานบ่งชี้ว่า หากเราไม่ได้เรียนภาษามนุษย์ตั้งแต่เล็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ในภายหลังได้ยากขึ้น

เมื่อความจำเป็นผลักดันให้ต้องเรียนภาษาใหม่

ดร.ดานิเยลา เทรนคิก นักภาษาศาสตร์จิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์ก ในอังกฤษได้ยกตัวอย่างของครอบครัวที่เข้าไปตั้งรกรากในประเทศใหม่โดยทั่วไป เด็กจะเรียนภาษาได้เร็วกว่าพ่อแม่ของพวกเขามาก
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเด็กอาจรู้สึกถึงความจำเป็นที่เร่งด่วนกว่า เนื่องจากการพูดภาษามีความสำคัญต่อการอยู่รอดในสังคมของพวกเขา นั่นคือ การผูกมิตรกับเพื่อนใหม่ การเป็นที่ยอมรับ และเข้ากับสังคมใหม่ได้
เมื่อครอบครัวย้ายไปอยู่ในประเทศใหม่ เด็กมักเรียนภาษาได้เร็วกว่าพ่อแม่ของพวกเขามาก เพราะเด็กอาจรู้สึกถึงความจำเป็นที่เร่งด่วนกว่า เนื่องจากการพูดภาษามีความสำคัญต่อการอยู่รอดในสังคมของพวกเขา
ในขณะที่พ่อแม่มักเลือกที่จะคบค้าสมาคมกับคนที่เข้าใจพวกเขาได้มากกว่า เช่น คนที่มาจากประเทศเดียวกัน

นอกจากนี้ ดร.เทรนคิก ยังชี้ว่า “การสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ก็ช่วยให้เรียนรู้ภาษาใหม่ได้ดีขึ้นด้วย”
ผู้ใหญ่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ได้หลายวิธี ไม่ใช่แค่ด้วยการมีความรัก หรือมิตรภาพกับเจ้าของภาษา ผลการศึกษาผู้ใหญ่ชาวอังกฤษในชั้นเรียนภาษาอิตาลี เมื่อปี 2013 พบว่า คนที่ยังคงใช้ภาษานี้ต่อไปคือคนที่ผูกพันกับเพื่อนร่วมชั้นคนอื่น ๆ หรือครู
“ถ้าคุณมีคนที่สนใจเรื่องภาษาเหมือนกัน ก็จะทำให้มีความพยายามในการใช้ภาษามากขึ้น และคงทักษะนี้เอาไว้ได้” ดร. เทรนคิก กล่าว

กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ผลการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เมื่อช่วงต้นปี โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการเล่นเกมตอบคำถามออนไลน์ของผู้เข้าร่วมการศึกษาเกือบ 670,000 คน พบว่า การจะใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้ได้ระดับเดียวกับเจ้าของภาษานั้น จะต้องเริ่มเรียนตอนอายุประมาณ 10 ปี จึงจะดีที่สุด และเมื่อเกินจากนั้นความสามารถก็จะค่อย ๆ ลดลง แม้แต่คนที่เป็นเจ้าของภาษายังเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เพิ่มวันละ 1 คำ ไปจนเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่าเราสามารถพัฒนาทักษะด้านภาษาของเราให้ดีขึ้นได้เรื่อย ๆ ซึ่งรวมถึงภาษาแม่ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องไวยากรณ์ในภาษาแม่ของเราได้อย่างเต็มที่ตอนอายุประมาณ 30 ปี

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่บ่งชี้ว่า แม้แต่คนที่เป็นเจ้าของภาษายังเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เพิ่มวันละ 1 คำ ไปจนเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน

ดร. เทรนคิก ชี้ว่า ผลการศึกษาของ MIT บ่งชี้ถึงความสามารถที่ช่วยพัฒนาให้คนที่เป็นเจ้าของภาษามีความแม่นยำขึ้นในเชิงของไวยากรณ์